วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Discovery Dream Design Destiny



Time Workshop

 


 Workshop 1 # ประสบการณ์ความสำเร็จในการใช้เวลา 

(เรียงตามลำดับรายชื่อ)


เรื่องที่ 1 หลังจากเรียนจบปริญญาตรี ช่วง 3 เดือนที่เรียนจบมา รู้สึกว่าตัวเองใช้เวลาไปอย่างว่างเปล่า ให้มันผ่านพ้น    ไป     วันๆ รู้สึกตัวเองไม่มีค่า เกิดความรู้สึกที่อยากทำงาน แต่ไม่อยากทำงานอยู่บ้าน เพราะไม่ได้ช่วยอะไรทางบ้านมากหนัก คืออยากหาเงินด้วยตัวเองมากกว่าที่จะกินเงินเดือนของพ่อแม่ และได้ไปสมัครงานบริษัท ได้รับหน้าที่ เป็นเจ้าหน้าที่การเงินจ่าย 
คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยเริ่มตั้งแต่กิจวัตรประจำวัน จากเป็นคนตื่นสาย กลายเป็นคนตื่นเช้า
-        - ตื่น 6.30 น. ทำธุระส่วนตัวให้เสร็จ

-        -  ขับรถไปทำงานก่อน 7.30 น. ก่อนเข้างาน 8.00 น.

เริ่มทำงาน 3 เดือนแรก ต้องเรียนรู้งานจากหัวหน้า ต้องจดจำรายละเอียดทุกอย่าง ว่าตำแหน่งนี้มีหน้าที่อะไรบ้าง ช่วงเวลาในการทำงาน ต้องแบ่งเวลาในการทำงานเป็นช่วงเวลา เพื่อทำงานให้ทันเวลา โดยเริ่มจาก

-         - เวลา 8.00 น. ต้องดูยอดเงินในระบบของธนาคาร ทั้ง 5 ธนาคาร ว่ามีเงินพอในการที่จะจ่ายให้เจ้าหนี้มั้ย และเบิกเงินสดในการจ่ายค่าใช้จ่ายประจำวันและอื่นๆ

-        - เวลา 9.00 น. ต้องทำชุดใบสำคัญจ่ายขึ้นระบบธนาคารของแต่ละธนาคาร ต้องทำให้ถูกต้อง และละเอียด ต้องทำเสร็จก่อนพักเที่ยงกินข้าว

-         - เวลา 13.00 น. เพื่อที่จะได้รับการอนุมัติจากกรรมการ ในการจ่ายเงิน ของแต่ละธนาคา
เวลาในการจ่ายเงินของธนาคารมีระบบเวลาในการตัดยอดเงินแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน ต้องทำธนาคารที่ตัดยอดก่อนต้องได้รับอนุมัติจากกรรมการกรก่อน เพื่อที่จะจ่ายเจ้าหนี้ได้ทันเวลา ถ้าจ่ายช้า จะมีดอกเบี้ยและค่าปรับเพิ่มมากขึ้นจากเจ้าหนี้การค้า ทุกเวลามีค่ามาก ต้องใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุดใน 1 วัน และจัดสรรเวลาได้เป็นอย่างดีมากขึ้น 

เรื่องที่ 2 เป็นช่วงเวลาตลอด 4 ปี ที่เรียน ปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งตอนเรียนในเทอม 1 ปี 1 มีกิจกรรมเยอะ ทำกิจกรรมมากมาย เลยทำให้การเรียนในขณะนั่นแย่ลง แต่ก็เลือกกิจกรรมที่เราชอบ เรารักในสิ่งนั่นพร้อมกับการเรียน ทำไปพร้อมๆกัน  โดยแบ่งเวลาช่วงที่ว่างจากการเรียนและหลังเลิกเรียน คือการทำตารางล่วงหน้าประจำวันว่าพุ่งนี้ในแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง และสามารถจบการศึกษาพร้อมเพื่อนๆ และรับปริญญาพร้อมเพื่อนๆ ได้ เป็นช่วงเวลาที่มีค่ามาก 

เรื่องที่ 3 ช่วงเวลาที่คิดว่ามีค่ามากที่สุด คือ ช่วงที่ไปฝึกงานตอนเรียน ปริญญาตรี ปี 3 ได้ไปฝึกงานที่ บริษัท ทรูคอร์เปอร์เรชั่น จำกัด ที่ศูนย์ใหญ่กรุงเทพมหานคร ในตอนนั้นมีเพื่อนที่ไปฝึกงานด้วยกัน 4 คน ได้ทำงานในแผนกเดียวกัน ตอนนั้นรู้สึกว่าเวลามีความสำคัญมาก เพราะ ได้ฝึกงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แก้ปัญหาทุกอย่างด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของแผนกคอลเซ็นเตอร์
ตอนเช้าต้องรีบตื่นตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพื่ออาบน้ำแต่งตัวไปให้ทันก่อนที่พี่เลี้ยงและหัวหน้าแผนกจะมา ถ้าเราช้าคนเดียว เพื่อนคนอื่นๆ ก็จะสายไปด้วย ทำให้เพื่อนถูกบ่นและถ้าไปช้า การแก้ไขปัญหาของระบบคอมพิวเตอร์ของแผนกนั้นจะช้า จะทำให้คนที่ช่วยเราถูกหักจำนวนชั่วโมงการทำงานไปด้วย ดั้งนั่นจึงคิดว่าต้องรักษาเวลาเป็นอย่างดี ไม่ทำให้คนอื่นต้องรอหรือเดือดร้อน 

เรื่องที่ 4 เมื่อจบปริญญาตรี เป็นช่วงที่หางาน ช่วงเวลาในการทำงานเป็น sale ในช่วงทดลองงาน 3 เดือน ทุกวันต้องมาทำงานก่อน 8 โมงเช้า ต้องเข้าสำนักงาน ตื่นตั้งแต่ 7 โมงเช้าเป็นอย่างต่ำ ต้องเข้าสำนักงานก่อน 15 นาที เพื่อวางแผนการทำงานว่าจะไปลงพื้นที่ไหน พอรู้พื้นที่ที่จะไปต้องหาเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าขายให้ใคร ทำแบบนี้จนขายได้ทะลุเป้าที่วางไว้ 
หลังจากช่วงผ่านโปร 3 เดือนแล้ว ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้า เมื่อเป็นหัวหน้าต้องมาเตรียมแผนให้ลูกน้องในทีมตั้งแต่ 6 โมงเช้า มีลูกน้องในทีมที่ต้องดูแล 9 คน ต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกน้องเห็นว่าการเป็น sale ที่ดีต้องทำอย่างไร คือ เมื่อใน 1 วัน ทุกคนมีเวลาเท่ากัน ทุกย่างก้าวที่ออกพื้นที่ไปต้องได้ยอดขายกลับมา เพื่อเป็นการเลี้ยงลูกน้องและตัวเอง จึงต้องใช้เวลาให้คุ้มค่ามากที่สุด
 
                                "มีเป้าหมาย มีการวางแผน มีความกระตือรือร้น"



Workshop 2 # ต้นแบบด้านเวลา



1. คุณฐิตินาถ ณ พัทลุง

         

คุณฐิตินาถ ณ พัทลุง เป็นคนรุ่นใหม่ จบปริญญาโทจากประเทศอังกฤษ มีความสำเร็จในธุรกิจส่วนตัว แต่เธอสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งสูญเสียสามีด้วย แต่เธอก็สามารถเอาชนะมันได้ กลับกลายเป็นคนมีสติรู้ รู้ใจตนเอง มีอิสระ มีความสุข มีความปรารถนาอยากให้เพื่อนมนุษย์จำนวนมากที่จมอยู่ในกองทุกข์ได้มี "เข็มทิศ " เป็นเครื่องนำทาง โดย "ได้ทดลองปฏิบัติธรรมพบว่า ใจกับ ความเจ็บปวดแยกออกจากกันได้ เวลานั่งสมาธิเราปวดขา ความปวดแยกออกไปใจ ส่วนใจเราจะไม่เจ็บปวดจนกว่าเราเผลอสติอยากบังคับให้สิ่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างใจเรา”  ทุกวันนี้ของ ฐิตินาถ ณ พัทลุง เธอประกาศวางมือจากธุรกิจ ใช้ชีวิตกับ น้องทะเลลูกชายหนึ่งเดียวของเธอ หลังจากสามีเสียชีวิต
          เธอ ไม่เพียงแต่หยุดทำงานเฉยๆ แต่เธอได้ขายกิจการเวิร์คกิ้ง ไดมอนด์ และโรงเรียนแฮปปี้ คิดส์ มาเป็นคนเดินช้า เป็นคุณแม่ของลูก และเป็นวิทยากรบรรยายธรรมะสำหรับคนทำงานในองค์กรรัฐ เอกชน และสถานปฏิบัติธรรม รวมถึงเป็น ครูอ้อยของเด็ก ๆ ในหลักสูตรปฏิบัติธรรม ธุรกิจ เวิร์คกิ้ง ไดมอนด์ และกิจการโรงเรียนแฮปปี้คิดส์ กำลังไปได้ดี แต่เธอก็ตัดสินใจขายทิ้งด้วยเหตุผลที่ว่าขอทำธุรกิจแบบพอเพียง มีเงินก้อนหนึ่งที่คิดว่ามากพอแก่การดำรงชีวิตและอยู่ได้สบาย ๆ ก็น่าจะใช้เวลาที่เหลือทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ เพราะเงินนั้นเป็นสิ่งจำเป็นช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบาย แต่เราสามารถจัดวิถีการทำงาน และการใช้ชีวิตที่จะช่วยให้เรามีความสุขโดยใช้เงินน้อย ๆ ก็ได้
          เธอ จัดพอร์ตชีวิต โดยมองว่า คนคนหนึ่งต้องการความสะดวกสบายระดับหนึ่ง แต่มากไปกว่านั้น คือ ความสุข... เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มมีความสุขตั้งแต่วันนี้ เดี๋ยวนี้ แต่ความสุขในที่นี้ คือ ความสุขประณีต สุขใจ สุขกาย ไม่ทุกข์ ตามหลักพุทธศาสนา ขณะ ที่คนส่วนใหญ่ แม้จะมีเงินและทรัพย์สมบัติมากมายนับแสนล้านแต่ก็รู้สึกว่ายังไม่พอ ต้องมีนั่น มีนี่ เปรียบเสมือนน้ำในแก้วไม่มีวันเต็ม เพราะความอยากในใจของเราไม่เคยหยุด แก้วของเราจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เคยพอ แต่ถ้าเรามีน้ำอยู่ครึ่งแก้วแล้วสามารถลดขนาดของแก้วน้ำลง จนเหลือเพียง 1 ใน 4 น้ำที่มีครึ่งแก้วก็จะล้นเกินอีกเท่าตัว เกินพอสำหรับเรา และพอที่จะแบ่งให้คนอื่น เมื่อน้ำเต็มแล้วเราก็จะไม่ต้องวิ่งหาน้ำมาเติมอีก มีเวลาเหลือให้ลูก ให้คนที่เรารักให้กับการพัฒนาจิตใจตัวเอง ให้กับสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิตเราอย่างแท้จริง ต้อง รู้จักพอเป็น มีแค่ไม่เดือดร้อนตลอดชีวิต และอ้อยมีลูกแค่คนเดียว แล้วลูกก็เป็นเด็กพอเพียง ชอบการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน เราจึงไม่จำเป็นต้องวิ่งหาเงินไปเรื่อย ๆ
          เธอเชื่อว่ามีเงินแล้วอาจเจอทางตันต้องหาเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ เพิ่มความเครียด เพิ่มภาระเบียดเบียนกระทบคนอื่นมากขึ้น คนที่มองว่าเงินเป็นเป้าหมายสูงสุด ความสุขทั้งหมดของชีวิตอยู่ที่เงิน พอหมดเงิน ก็หมดความสุขฐิตินาถ เชื่อเช่นนี้ ความเชื่อเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืนทว่าเธอเองได้ปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช มีเมตตาช่วยชี้นำทางหลังจากเธอได้ปฏิบัติธรรม ฐิตินาถเริ่มปฏิบัติธรรมหลังจากสามีเสียชีวิตกะทันหัน ทิ้งหนี้ไว้ให้เกือบ 100 ล้านบาท ตอนนั้นลูกอายุไม่ถึงขวบ ธุรกิจของเขา เธอเองก็ไม่เข้าใจ จะสานต่อก็คงยาก จะทำอย่างไรกับหนี้ก้อนโต รู้สึกเจ็บปวดจนแทบเอาชีวิตไม่รอด จากนั้น ได้ทดลองปฏิบัติธรรม พบว่า ใจกับ ความเจ็บปวดแยก ออกจากกันได้ เวลานั่งสมาธิเราปวดขา ความปวดแยกออกไป ใจส่วนใจ ใจเราจะไม่เจ็บปวด จนกว่าเราเผลอสติ อยากบังคับให้สิ่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างใจเรา การปฏิบัติธรรมช่วยเธอได้ เพราะเธอใช้เวลา 2 ปีครึ่ง สามารถใช้หนี้เกือบ 100 ล้านได้หมด โดยยึด หลักการตัดอวัยวะรักษาชีวิต และทุกข์ตรงไหนวางตรงนั้น หนักตรงไหนปล่อยตรงนั้น อะไรที่เรารักษาไว้ไม่ได้ก็ปล่อยมันไป อะไรที่เราเข้าใจก็ดูแลให้ดี 

ความประทับใจ
          ชื่นชอบในการบริหารจัดการด้านทัศนคติ ปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแนวทางในการใช้เวลาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข โดยไม่ต้องพึ่งวัตถุที่อยู่ไกลตัวเรา จนมองความสุขที่แท้จริงไม่เห็นว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ในตัวเราอยู่ที่ความคิดของเรา จัดการตัวเราให้ได้เวลาของความสุขก็จะมีมากขึ้น การดำรงชีวิตก็จะง่ายขึ้น







2. สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก